วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่๑๖



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  27  กันยายน  2556 
ครั้งที่ 16 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น
 
วันนี้เป็นการเรียนในสัปดาห์สุดท้าย อาจารย์ให้ทุกคนเขียน My map ในหัวข้อความรู้ที่ได้รับจาการเรียนในรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อที่จะได้วัดว่าเราได้ความรู้อะไรบ้าง และสามารถนำความรู้ที่ได้ในการเรียนไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้บ้างหรือไม่ ซึ่ง My map ของฉันออกมาเป็นดังนี้......
 
 

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่๑๕

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  20  กันยายน  2556 
ครั้งที่ 15  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น


วันนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มแล้วช่วยกันทำแผนการเรียนรู้โดยที่กลุ่มของเราทำเรื่องปลา โดยจะสอนเกี่ยวกับประโยชน์ของปลาว่าสามารถนำไปประกอบเป็นวัตถุดิของอาหารได้โดยปลาจะเป็นประโยชน์สำหรับเด็กๆ โดยผลงานของกลุ่มพวกเรามีผลงานดังนี้............................


































บันทึกอนุทินครั้งที่๑๔

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  13  กันยายน  2556 
ครั้งที่ 14  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น

           วันนี้อาจารย์ให้แบงกลุ่มกันทำสื่อที่เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กโดยที่ให้ทำเป็นมุมต่างๆ โดยที่กลุ่มของดิฉันช่วยกันคิดและสรุปว่าจะทำเป็นมุมเศรษฐกิจพอเพียง  โดยที่เราคิดจะทำมุมนี้นอกจากจะเป็นสื่อในการสอนประสบการณ์ทางภาษาให้แก่เด็กแล้ว  เรายังอยากปลูกฝังเรื่องความพอเพียงให้แก่เด็ก เพราะในปัจจุบันนี้ผู้คนมักจะยึดติดที่วัตถุ สิ่งของที่คิดว่าถ้ามีแล้วจะทำให้มีความสุข  แต่ความจริงแล้วความสุขไม่ได้อยู่ที่วัตถุสิ่งของเลย กลุ่มของพวกเราเลยอยากปลูกฝังเรื่องนี้ให้แก่เด็กๆให้เขาได้รู้ ได้เห็นคุณค่าและรู้จักการออม  โดยผลงานของกลุ่มของพวกเราออกมาเป็นเช่นนี้.......




วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่๑๓

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  6  กันยายน  2556 
ครั้งที่ 13  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น

        วันนี้อาจารย์สอนเรื่องการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา ในขั้นต้อนแรกพูดเรื่องเนื้อหาก่อน แล้วก็ให้เพื่อนออกไปใบ้คำ โดยใช้เสียงแล้วให้ทายว่าเป็นสัตว์อะไร

การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา
  • สร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม
  • เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาโดยไม่เน้นเนื้อหาทางภาษา
หลัการ
  • สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กสำรวจปฏิบัติจริง เป็นผู้กระทำด้วยตนเองเปิดโอกาสให้เด็กเป็นอิสระ ได้สังเกตและตั้งสมมุติฐาน
  • สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กและบุคคลรอบข้าง  เด็กควรได้สื่อสองทาง
  • สิ่งแวดล้อมที่เน้นความหมายมากกว่ารูปแบบ  ควรยอมรับการสื่อสารของเด็กในรูปแบบต่างๆ  โดยคำนึงความหมายที่เด็กต้องการสื่อมากกว่าความถูกต้องทางไวยกรณ์
  • สิ่งแวดล้อมประกอบด้วยความหลากหลายทั้งด้านวาจาและไม่ใช่วาจา  เด็กควรได้รับการมีประสบการณ์และปฏิสัมพันธ์หลายๆแบบ
มุมประสบการณ์ที่สนับสนุนการเรียนรู้และสาระทักษะทางภาษา
  • มุมหนังสือ
  • มุมบทบาทสมมุติ
  • มุมศิลปะ
  • มุมดนตรี
  • ฯลฯ
ลักษณะของการจัดมุมในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะภาษา
  • มีพื้นที่ให้เด็กสามารถทำกิจกรรมได้
  • เด็กรู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่ในมุม
  • บริเวณใกล้ๆมีอุปกรณ์เครื่องเขียน เช่น ดินสอ  สี  กระดาษ  กรรไกร  กาว
  • เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน  ออกแบบ
มุมหนังสือ
  • มีชั้นวางหนังสือประเภทต่างๆที่เหมาะสมกับวัย
  • มีบรรยากาศที่ สงบ และอบอุ่น
  • มีพื้นที่ในการอ่านลำพัง  และเป็นกลุ่ม
  • มีอุปกรณ์สำหรับการเขียน
มุมบทบาทสมมุติ
  • มีสื่ออุปกรณ์ที่สามารถให้เด็กเข้าไปเล่น
  • มีพื้นที่ที่เพียงพอ
มุมศิลปะ
  • จัดอุปกรณ์ที่หลากหลาย  เช่น สีเมจิก  ดินสอ  ยางลบ  ตรายาง  ซองจดหมาย ฯลฯ
  • กรรไกร  กาว  สำหรับงานตัดและปะติด
มุมดนตรี
  • มีเครื่องดนตรีทั้งที่เป็นของเล่นและของจริง  เช่น  กลอง  ฉิ่ง  ระนาด  ขลุ่ย  กรับ  เครื่องเคาะจังหวะ


หลังจากนั้นอาจารย์ก็พูดถึงเรื่องลายมือของคนที่อนาคตจะเป็นครูโดยเฉพาะครูอนุบาล ลายมือที่ทำให้เด็กเห็นจะต้องชัดเจนเพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่เด็ก โดยอาจารย์ให้คัดลายมือ หัวกลม ตัวเหลี่ยม ออกมาดังนี้




วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่๑๒

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  30  สิงหาคม  2556 
ครั้งที่ 12  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น


วันนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน โดยอาจารย์มอบหมายงานให้ออกแบบสื่อช่วยกันโดยสื่อที่ทำจะต้องส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา โดยกลุ่มของเราทำสื่อชิ้นนี้ออกมา




สื่อชิ้นนี้ชื่อ จับคู่บัตรภาพผลไม้ 
: วิธีการเล่น  ให้ภาพผลไม้ และคำศัพท์โดบให้เด็กๆนำภาพและคำศัพท์มาจับคู่ให้ถูกต้อง
: ประโยชน์ เด็กได้รู้คำศัพท์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และได้รู้ว่าผลไม้นี้มีชื่อว่าอะไร ซึ่งเป็นการพัฒนาทักษะทางด้านภาษาให้กับเด็กได้ด้วย

บันทึกอนุทินครั้งที่๑๑

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  23  สิงหาคม  2556 
ครั้งที่ 11  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น

วันนนี้อาจารย์เริ่มต้นบทเรียนโดยการพูดถึงเรื่อง  สื่อการเรียนรู้ทางภาษา เกี่ยวกับความหมายความสำคัญก่อนโดยมีเนื้อหาดังนี้

            สื่อการเรียนรู้ทางภาษา
ความหมาย  
: วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการต่างๆ
: เพื่อกระตุ้นความสนใจ ส่งเสริม จูงใจ ให้เด็กเกิดความสนใจ
: ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ทางภาษา
: เครื่องมือที่ครูกำหนดขึ้น เพื่อถ่ายทอด แลกเปลี่ยนเนื้อหา ประสบการณ์ แนวคิด ทักษะ เจตคติ

ความสำคัญของสื่อการเรียนรู้ทางภาษา
: เด็กเรียนรู้ได้ดีจากประสาทสัมผัส
: เข้าใจได้ง่าย
: เป็นรูปธรรม
: จำได้ง่าย เร็ว และนาน

ประเภทของสื่อการสอน
(1.) สื่อสิ่งพิมพ์
: สื่อที่ใช้ระบบการพิมพ์
: เด็กได้เรียนรู้ตัวอักษร การใช้คำ ประโยต
: หนังสือนิทาน หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ นิตยสาร แบบฝึกหัด พจนานุกรม
(2.) สื่อวัสดุอุกรณ์
: สิ่งของต่างๆ
: ของจริง หุ่นจำลอง แผนที่ แผนภูมิ ตาราง สถิติ กราฟ สมุดภาพ หุ่นมือ
(3.) สื่อโสตทัศนูปกรณ์
: สิ่งที่นำเสนอด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ
: คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นแผ่น
(4.) สื่อกิจกรรม
: วิธีการที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติทักษะ
: ใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์
: เกม เพลง การสาธิต สถานการณ์จำลอง การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ การแสดงผลงาน ทัศนศึกษา
(5.) สื่อบริบท
: สือที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์
: สภาพแวดล้อม
: ห้องเรียน บุคคล ชุมชน วัฒนธรรม

  เมื่อได้เรียนรู้เกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญไปแล้วอาจารย์ก็ให้ลงมือทำสื่อคนล่ะ 1 ชิ้นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษาให้แก่เด็ก ซึ่งผลงานของดิฉัน คือ!!!!!!!!!!!    

         

วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่10

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  16  สิงหาคม  2556 
ครั้งที่ 10  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น


       วันนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มกันเพื่อที่จะให้นักศึกษาทำสื่อกัน โดยให้แต่ล่ะกลุ่มทำสื่อที่แตกต่างกันออกไปโดยกลุ่มของฉันได้ทำธงชาติอาเซียน ซึ่งในการทำธงชาตินี้เป็นธงชาติประเทศต่างๆในอาเซียนซึ่งธงนี้สามารถเลื่อนขึ้นเลื่อนลงได้เพื่อให้เด็กสามารถเล่นได้และอาจารย์บอกว่าสื่อที่ทำจะนำไปให้เด็ก ซึ่งดิฉันตั้งใจทำมากๆ  ฉันได้ทำธงชาติประเทศพม่า






               ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากการทำสื่อชิ้นนี้ ทำให้ฉันสามารถที่จะนำไปสอนเด็กๆในอนาคตได้ โดยเฉพาะเรื่องอาเซียนนี้ยิ่งมีความสำคัญมาก เพราะใกล้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว ในการทำธงประเทศต่างๆทำให้เด็กได้รู้ถึงสัญลักษณ์ของธงในแต่ล่ะประเทศ และยังรู้ว่ามีประเทศอะไรบ้างที่เป็นสมาชิก ถือเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กได้ด้วย

บันทึกอนุทินครั้งที่๙

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  9  สิงหาคม  2556 
ครั้งที่ 9  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น


วันนี้ขาดเรียน เนื่องจากเดินทางกลับบ้านไปไหว้แม่ที่ระยอง





วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ ๘

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  2  สิงหาคม  2556 
ครั้งที่ 8  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น.


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เพราะสอบ Midtrem




บันทึกอนุทินครั้งที่ ๗

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  26  กรกฎาคม  2556 
ครั้งที่ 7  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น.


การประเมิน
1.) ใช้เครื่องมือประเมินที่หลากหลาย
2.) เน้นที่ความก้าวหน้าของเด็ก
              :บันทึกสิ่งที่เด็กทำได้
              :ทำให้สามารถส่งเสริมเด็กให้ก้าวไปสู่พัฒนาการทางภาษาในระดับที่สูงขึ้น
3.) ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย
4.) ให้เด็กมีโอกาสประเมินตนเอง
5.) ครูให้ความทั้งกระบวนการและผลงาน
6.) ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล

สิ่งที่ได้รับจาการเรียนรู้
          ได้รู้เกี่ยวกับการที่จะประเมินเด็ก ว่าสามารถใช้วิธีการใดได้บ้าง เพื่อที่จะสามารถนำการประเมินนั้นไปส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้ดีมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นอาจารย์ก็ยังสอนเทคนิคการเล่านิทาน เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตอีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ ๖

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  19  กรกฎาคม  2556 
ครั้งที่ 6  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น.

   วันนี้อาจารย์เกี่ยวกับเรื่อง แนวทางการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.) การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา (Skill Approch) เช่น
               : ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยๆของภาษา
               : การประสมคำ
               : ความหมายของคำ
               : นำคำมาประกอบเป็นประโยค
2.) การสอนภาษาแบบธรรมชาติ (Whole Language) คือ
                : เด็กเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์ และการลงมือทำ
                : เด็กเรียนรู้จากกิจกรรม การเคลื่อนไหวของตนเอง และการได้สัมผัสกับสิ่งต่างๆ
                :อิทธิพลของสังคมและบุคคลอื่นๆ
หลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
                 1.) การจัดสภาพแวดล้อม
                  2.) การสื่อสารที่มีความหมาย
                  3.) การเป็นแบบอย่าง
                  4.) การตั้งความหวัง
                  5.) การคาดหวัง
                  6.) การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
                  7.) การยอมรับนับถือ
                  8.) การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น
บทบาทครู
                  -ผู้ที่ถ่ายทอดความรู้
                  -ผู้อำนวยความสะดวก
                  -ผู้ร่วมทางการเรียนรู้ไปพร้อมๆกับเด็ก
     
                  สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้คือ ทำให้ได้รู้ถึงหลักวิธีการจัดประสบการณ์ทางภาษาให้กับเด็ก ว่าควรจัดอย่างไร มีวิธีการอย่างไร และได้เรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีของบุคคลสำคัญที่เกี่ยวกับเนื้อหาการเรียนนี้ และได้รู้ว่าบทบาทหน้าที่ของครูนั้นนอกจากการถ่ายทอดความรู้แล้วยังต้องเป็นผู้ที่คอยอำนวยความสะดวก และจะต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆกับเด็กๆด้วย ทำให้สามารถนำสิ่งที่เรียนในวันนี้ไปปรับใช้ในการสอนของเราในอนาคตได้










วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ ๕

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  12  กรกฎาคม  2556 
ครั้งที่ 5  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น.

: องค์ประกอบของการศึกษา
               1. เสียง (Phonology) 
                    -ระบบเสียงของภาษา
                    -เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
                    -หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา
                2. ความหมายของภาษาและคำศัพท์ (Syntax)
                    -คือ ความหมายของภาษาและคำศัพท์
                    -คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย
                    -ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน
                3. ไวยากรณ์ (Syntax)
                   - คือ ระบบไวยากรณ์
                   - การเสียงรูปประโยค
                4. Pragmatic
                   - คือระบบการนำไปใช้
                   -ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ
:แนวคิดนักการศึกษา
   Skinner
           -สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการภาษา
           -ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง
   John B. watson
           -ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
           -การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็ก  เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้และผู้ใหญ่สามารถที่จะวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ทุกพฤติกรรม

นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า
         - ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์
         - การเรียนภาษาเป็นผลมาจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม
         - เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
         - เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรม เมื่อปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัว
         - เมื่อได้รับแรงเสริมจะทำให้เด็กเลียนแบบตัวแบบมากขึ้น
นักคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา
   Piaget
         - เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
         - ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
    Vygotsky
         - เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
         - สังคม บุคคลรอบข้างมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
         - เน้นบทบาทของผู้ใหญ่
         - ผู้ใหญ่ช่วยชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก
แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย
   Arnold Gesell
         - เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา
         - ความพร้อม วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
         - เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว
         - เด็กบางคนอาจมีปัญหาอวัยวะบางส่วนที่ใช้ภาษาในการสื่อสารบกพร่อง
แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาแต่กำเนิด
    Noam Chomsky
           - ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์
           - การเรียนรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
           - มนุษย์เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา มาตั้งแต่เกิด เรียกว่า LAD (Language Acquisition Derice) 
แนวคิดของ O. Hobart Mowrer
           - คิดค้นทฤษฏีความพึงพอใจ

แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา
            - เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
            - นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน
Richard and Rodger (1995 ) ได้แบ่งมุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์ เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
    1. มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
            - นำองค์ประกอบย่อยของภาษามาใช้ในการสื่อความหมาย
            - เสียง ไวยากรณ์ การประกอบคำเป็นวลี หรือประโยค
    2. มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
            - เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย
            - การจัดประสบการณ์เน้นการสื่อความหมาย
            - ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์
    3. มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์
            - เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างสัมพันธ์ทางสังคม
            - การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
           - เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา



บันทึกอนุทินครั้งที่ ๔

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  5  กรกฎาคม  2556 
ครั้งที่ 4  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น.



วันนี้อาจารย์ให้ออกไปพรีเซนต์งานที่ล่ะกลุ่ม ซึ่งอาจารย์ได้แบ่งให้แต่ล่ะกลุ่มไปศึกษาเกี่ยวกับการใช้ภาษาของเด็กในแต่ล่ะช่วงอายุ และวัยที่ต่างกันออกไป ตั้งแต่เด็กแรกเกิดถึง6ปี ซึ่งในแต่ล่ะช่วงวัยของเด็กก็จะมีพัฒนาการใช้ภาษาแตกต่างกันออกไป ดังนี้

 1. เด็กแรกเกิดปกติจะไม่ออกเสียง จะทำเสียงร้องไห้ สะอึก จาม เรอ                                     
 2. เด็กอายุ 5 - 6 สัปดาห์เริ่มทำเสียงเล่นโดยเฉพาะถ้ามีคนมาเล่น หลอกล้อ                 
 3. เด็กอายุ 3 เดือน ชอบเล่นเสียงและจะทำเสียงสูงตามผู้อื่น หยุดนิ่งขณะที่ผู้อื่­นทำเสียงพูดด้วย                                                                                                                  
4. เด็กอายุ 6 เดือน ชอบหัวเราะและส่งเสียงเมื่อ­ มีคนมาเล่นด้วย ถ้าไม่พอใจก็ร้องกรี๊ดกร๊าด ชอบเล่นเสียง และออกเสียงเป็น เกอ” “เลอเป็นต้น                                        
5. เด็กอายุ 9 เดือน ชอบเลียนเสียงผู้ใหญ่ ชอบออกเสียงเป็นคำ เช่น หมํ­า หมํ­า” “ดา ดาโดยออกเสียงซ้ำๆ บ่อยๆ                                                                                    
6.เด็กอายุ 1 ปี เริ่มเข้าใจความหมายของคำ เช่น ส่งให้แม่และออกเสียงคำที่มีความหมายได้ 12 คำ เช่น แม่” “บ๊าย บายพูดได้ประมาณ 620 คำ
7. เด็กอายุ 2 ปี เด็กพูดได้ประมาณ 50 คำ และบางทีก็พูดเป็นประโยคสั้นๆ ได้ เริ่มใช้คำแทนตัวเอง เริ่มตั้งคำถาม และเข้าใจเรื่องที่ผู้อื่­นพูดด้วย
8. เด็กอายุ 3 ปี เด็กจะเริ่มรู้คำศัพท์มากขึ้น, นับเลขได้, ช่วยพูด, บอกได้ว่าต้องการอะไร
9. เด็กอายุ 3.54 ปี เด็กพูดมากขึ้น และมีคำศัพท์ใหม่ พูดติดอ่างชั่วระยะหนึ่­งพูดประโยคยาวๆ ได้มากขึ้น รู้จักวางประโยคได้ถูกต้อง เข้าใจคำว่า ข้างบน” “ข้างล่างรู้จักใช้คำปฏิเสธ เช่น ไม่ไป มักใช้คำว่า    สมมุติ....ฟังนิทานได้ประมาณ 20 นาที
10. เด็กอายุ 45 ปี เด็กจะมีคำศัพท์ได้ประมาณ 1,5001,900 คำ บอกชือและนามสกุลตนเองได้ รู้จักเพศของตนเอง ชอบแต่งประโยคและใช้คำต่างๆ ชอบใช้คำถาม ทำไม เมือ­ ไหร่ อย่างไร และสนใจความหมายของคำต่างๆ

11. เด็กอายุ 56 ปี เด็กจะสามารถพูดได้คล่องและถูกหลักไวยากรณ์แต่ยังออกเสียงพยัญชนะบางตัวไม่ชัดเจน เช่น ส ว ฟ สนใจคำใหม่ๆ และพยายามค้นหาความหมายของคำนั้นๆ จำคำศัพท์ได้ถึง 2,200 คำ บอกชื่­อ ที่อ­ยู่ อายุ และวันเกิดของตนเองได้ ชอบท่องหรือร้องเพลง ที่มีจังหวะและเนื้อร้องที่มีคำสัมผัสกัน หรือโฆษณาทางทีวี

              ซึ่งกลุ่มของดิฉันก็ได้ไปทำการสัมภาษณ์ เด็กอายุประมาน5-6ปี ซึ่งการใช้ภาษาของน้องก็พอใช้ได้ แต่น้องมีอาการเขินอายกับบุคคลแปลกหน้า และไม่ค่อยกล้าพูดเท่าไหร่ น้องจะรู้สึกเกร็งๆกับการตอบคำถาม แต่น้องก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี  ในการสัมภาษณ์ครั้งนี้รวมถึงการพรีเซนต์งานของเพื่อนแต่ล่ะกลุ่มทำให้ฉันเข้าใจว่า พัฒนาการทางภาษาของเด็กในแต่ล่ะวัยจะเป็นไปตามลำดับขั้นตอน และการที่เด็กจะใช้ภาษาได้ดีนั้นขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมต่างๆด้วย

บันทึกอนุทิน ครั้งที่๓

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  28  มิถุนายน  2556 
ครั้งที่ 3  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เพราะมีกิจกรรม การรับน้องของเอก
 การศึกษาปฐมวัย และรับน้องของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
โดยมีภาพการทำกิจกรรมรับน้อง ดังนี้
กิจกรรมช่วงนี้ เป็นการแต่งตัวแห่งน้องรหัส เพื่อนความสวยงามของน้องรหัสตัวเอง

บันทึกอนุทิน ครั้งที่๒

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน


วัน/เดือน/ปี  21  มิถุนายน  2556 
ครั้งที่ 2  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น.


วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่อง ความสำคัญของภาษา โดยมีเนื้อหาที่สำคัญ ดังนี้
: ความสำคัญของภาษา
                  1.ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
                  2.ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
                  3.ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
                  4.ภาษาเป็นเครื่องมือจรรโลงจิตใจ
: ทักษะทางภาษา ประกอบด้วย
                   การฟัง
                   การพูด
                   การอ่าน
                   การเขียน
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ของ Piaget
                  การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในพัฒนาการทางด้านภาษาและสติปัญญา
: กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 2 กระบวนการ คือ
                   1.การดูดซึม (Assimilation) เป็นกระบวนการที่เด็กรับรู้ และดูดซึมภาพต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตนเอง
                   2.การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่(Accommodation) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นควบคู่ไปกับการดูดซึมโดยการปรับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ
Piaget ได้แบ่งพัฒนาการทางด้านสติปัญญาซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา ดังนี้
            1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor) อายุ แรกเกิด-2ปี
            2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Preopera tional Stage) อายุ 2-4ปี
            3. ขั้นการคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operational Stage) อายุ 7-11ปี
            4. ขั้นการคิดแบบนามธรรม (Formal Operational Stage) อายุ 11-15ปี

: พัฒนาการภาษาของเด็ก
            เด็กจะค่อยๆสร้างความรู้และเข้าใจ เป็นลำดับขั้นตอน ครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจและยอมรับหากพบว่าเด็ก ใช้คำศัพท์หรือไวยกรณ์ ไม่ถูกต้อง และควรมองว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ทางภาษาของเด็ก
: จิตวิทยาการเรียนรู้
            1. ความพร้อม       วัย ความสามารถ และประสบการณ์ของเด็ก
            2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล       อิทธิพลทางพันธุกรรม อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม
            3. การจำ        การเห็นบ่อยๆ การทบทวนเป็นระยะ การจัดเป็นหมวดหมู่ การใช้คำสัมผัส
            4. การให้แรงเสริม      แรงเสริมทางบวก แรงเสริมทางลบ

บันทึกอนุทิน ครั้งที่๑


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  14  มิถุนายน  2556 
ครั้งที่ 1  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น.


                 วันนี้เรียนวันแรก อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ3คน และช่วยกันทำ MY MAP เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่ง MY MAP ของกลุ่มพวกเราก็มีผลงาน ดังนี้

ซึ่งเมื่อได้จัดทำงานชิ้นนี้แล้ว ทำให้ได้รู้ว่า  ภาษานั้นมีมากกว่าการใช้คำพูด แต่มีทั้ง ภาษาท่าทาง ภาษาเขียน การอ่าน และได้รู้วิธีการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กในรูปแบบต่างๆได้อย่างหลากหลายเพื่อให้เด็กได้รับการสอนเหล่านี้ได้อย่างครบถ้วน และสามารถนำภาษาไปใช้ได้อย่างถูกต้อง