วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่๑๓

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  6  กันยายน  2556 
ครั้งที่ 13  เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00น.  เวลาเข้าเรียน 13.10น.  เวลาเลิกเรียน 16.40น

        วันนี้อาจารย์สอนเรื่องการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา ในขั้นต้อนแรกพูดเรื่องเนื้อหาก่อน แล้วก็ให้เพื่อนออกไปใบ้คำ โดยใช้เสียงแล้วให้ทายว่าเป็นสัตว์อะไร

การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา
  • สร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม
  • เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาโดยไม่เน้นเนื้อหาทางภาษา
หลัการ
  • สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กสำรวจปฏิบัติจริง เป็นผู้กระทำด้วยตนเองเปิดโอกาสให้เด็กเป็นอิสระ ได้สังเกตและตั้งสมมุติฐาน
  • สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กและบุคคลรอบข้าง  เด็กควรได้สื่อสองทาง
  • สิ่งแวดล้อมที่เน้นความหมายมากกว่ารูปแบบ  ควรยอมรับการสื่อสารของเด็กในรูปแบบต่างๆ  โดยคำนึงความหมายที่เด็กต้องการสื่อมากกว่าความถูกต้องทางไวยกรณ์
  • สิ่งแวดล้อมประกอบด้วยความหลากหลายทั้งด้านวาจาและไม่ใช่วาจา  เด็กควรได้รับการมีประสบการณ์และปฏิสัมพันธ์หลายๆแบบ
มุมประสบการณ์ที่สนับสนุนการเรียนรู้และสาระทักษะทางภาษา
  • มุมหนังสือ
  • มุมบทบาทสมมุติ
  • มุมศิลปะ
  • มุมดนตรี
  • ฯลฯ
ลักษณะของการจัดมุมในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะภาษา
  • มีพื้นที่ให้เด็กสามารถทำกิจกรรมได้
  • เด็กรู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่ในมุม
  • บริเวณใกล้ๆมีอุปกรณ์เครื่องเขียน เช่น ดินสอ  สี  กระดาษ  กรรไกร  กาว
  • เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน  ออกแบบ
มุมหนังสือ
  • มีชั้นวางหนังสือประเภทต่างๆที่เหมาะสมกับวัย
  • มีบรรยากาศที่ สงบ และอบอุ่น
  • มีพื้นที่ในการอ่านลำพัง  และเป็นกลุ่ม
  • มีอุปกรณ์สำหรับการเขียน
มุมบทบาทสมมุติ
  • มีสื่ออุปกรณ์ที่สามารถให้เด็กเข้าไปเล่น
  • มีพื้นที่ที่เพียงพอ
มุมศิลปะ
  • จัดอุปกรณ์ที่หลากหลาย  เช่น สีเมจิก  ดินสอ  ยางลบ  ตรายาง  ซองจดหมาย ฯลฯ
  • กรรไกร  กาว  สำหรับงานตัดและปะติด
มุมดนตรี
  • มีเครื่องดนตรีทั้งที่เป็นของเล่นและของจริง  เช่น  กลอง  ฉิ่ง  ระนาด  ขลุ่ย  กรับ  เครื่องเคาะจังหวะ


หลังจากนั้นอาจารย์ก็พูดถึงเรื่องลายมือของคนที่อนาคตจะเป็นครูโดยเฉพาะครูอนุบาล ลายมือที่ทำให้เด็กเห็นจะต้องชัดเจนเพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่เด็ก โดยอาจารย์ให้คัดลายมือ หัวกลม ตัวเหลี่ยม ออกมาดังนี้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น